วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มลพิษทางน้ำ

                                                          มลพิษทางน้ำ 

 สารที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ได้แก่สารเคมีที่มีอยู่ในน้ำ แล้วก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำขึ้น 
สารมลพิษทางน้ำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้คือ 

1. สิ่งมีชีวิต (biological agents) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่ ทำให้น้ำเสียหรือเสื่อมคุณภาพ เช่น

-
จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย โพรโตซัว ไวรัส รา ในน้ำจะพบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของ โรคอหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ โรคลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ เป็นต้น

-
สาหร่าย สาหร่ายจะเจริญเติบโตในแหล่งน้ำที่มีสารอาหารมาก สาหร่ายจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการตายและการเน่าของสาหร่าย อันเป็นเหตุให้น้ำเน่าและแหล่งน้ำขาดออกซิเจน

2. สารเคมีที่มีอยู่อุดมสมบูรณ์ หรือ เกินอุดมสมบูรณ์ (chemical that enrich and over enrich) ได้แก่ สารอินทรีย์ ซึ่งเป็นของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล โรงงานผลิตสุรา - เบียร์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานอาหารกระป๋อง ของเสียจากบ้านเรือน ซึ่งของเสียที่ปล่อยออกมาจะมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ผงซักฟอก ไฮโดรคาร์บอน และขยะปะปนอยู่ ส่วนสารอนินทรีย์ได้แก่น้ำที่มีเกลือไนเทรต และเกลือฟอสเฟต ที่มาจากการเกษตรกรรม สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลาย โดยแบคทีเรียและเห็ด ราในน้ำ เกิดเป็น
สารอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของสาหร่ายและพืชน้ำน้ำที่มีไนเทรตและฟอสเฟตอยู่ในปริมาณสูงจะช่วยทำให้
้สาหร่ายและพืชน้ำเติบโตและเพิ่มจำนวนมากมายอย่างรวดเร็ว เมื่อสาหร่ายและพืชน้ำตายจึงเกิดการเน่าของน้ำ เรียกว่าเกิด ยูโทรพิเคชันขึ้น

    
3. พิษของสารเคมี (chemical poison) สารอนินทรีย์และสารอินทรีย์หลายชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่ใช้น้ำในการอุปโภค - บริโภค หรือบริโภคสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำที่มีสารเคมีเป็นพิษเจือปนอยู่ สารอนินทรีย์ที่จัดเป็นสารมลพิษทางน้ำ ได้แก่ โลหะหนัก เช่น โลหะที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างช้า ทำให้สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานในรูปของตะกอน สิ่งมีชีวิต
ในน้ำจะได้รับโลหะหนักจากน้ำ พืชน้ำ สัตว์น้ำ จากการกินตามห่วงโซ่อาหาร ดังนั้นจึงเกิดการสะสมโลหะหนักในเนื้อเยื่อสัตว์ และเนื้อเยื่อพืช โดยสะสมสารมลพิษเพิ่มขึ้นตามลำดับขั้นการบริโภค

                 
โลหะหนักที่พบในแหล่งน้ำ ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สังกะสีโครเมียม นิเกิล แมงกานิสเป็นต้นโลหะหนักที่มีบทบาทต่อภาวะมลพิษทางน้ำมากที่สุดคือปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม ถ้ามีมากเกินขีดจำกัดแล้วจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย ดังเช่นพิษของปรอททำให้เกิดโรคมินามาตะในชาวประมงญี่ปุ่นบริเวณอ่าวมินามาตะ พิษของแคดเมียม ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต ในประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทย ประชาชนในอำเภอร่อนพิบูล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโรคไข้ดำ เนื่องจากน้ำดื่มมีสารหนูเจือปนอยู่มาก พิษของตะกั่วในชุมชนคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น

                
โรคไข้ดำ เป็นโรคผิวหนังอันเกิดมาจากพิษสารหนูที่มีอยู่เกินขนาดตามแหล่งน้ำโรคนี้เกิดที่อำเภอร่อนพิบูล จังหวัดนครศรีธรรมราชแหล่งน้ำธรรมชาติมีสารหนูถูกชะล้างมาจากเหมืองแร่ในอดีต โรคนี้เป็นที่สนใจเมื่อคนในอำเภอนี้เป็นโรคนี้กันมาก อาการที่ปรากฏ คือ ผิวหนังเริ่มแข็งกระด้าง ตามข้อนิ้วมือ ฝ่ามือ 
ฝ่าเท้า และบริเวณลำตัว ผิวหนังใต้ร่มผ้าออกลายเป็นจุดดำ ๆ แล้วค่อยขยายวง เป็นจุดสลับขาวน่าเกลียด 
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) ได้มีครอบครัวหนึ่งสมาชิกจำนวน 8 คนมีอาการดังกล่าวข้างต้นไปตรวจที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช แพทย์ผู้ตรวจได้นำคนไข้ไปพบนายแพทย์ธาดา 
เปี่ยมพงศ์สานต์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง จึงสามารถวิเคราะห์โรคได้ว่าเป็นโรคที่เกิดจากพิษของสารหนูที่มีอยู่ในแหล่งน้ำ จากการสำรวจแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของชาวบ้านจำนวน 300 บ่อ ปรากฏว่าปริมาณสารหนูเกินขนาดมาตรฐานที่เป็นอันตรายทุกบ่อ ปริมาณมาตรฐานที่จะใช้น้ำบริโภคได้ คือ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการสำรวจและวิเคราะห์พบสารหนูอยู่ในแหล่งน้ำโดยเฉลี่ยมีมากกว่า 50 มิลลิกรัมต่อลิตร จากการสำรวจพบว่ามีนักเรียนเป็นโรคไข้ดำมากถึงร้อยละ 20 ส่วนครูเป็นมากถึงร้อยละ 70 ทางจังหวัดจึงเตือนให้ดื่มน้ำฝนแทนน้ำจากบ่อ เพื่อลดการได้รับสารหนู เข้าสะสมในรางกาย 

                   
พิษจากอนินทรียสาร ได้แก่พิษของยาฆ่าแมลง เช่น ดีดีที คลอเคน สารประกอบเบนซิน เช่น ฟีนอล ปัจจุบันพบสารชนิดใหม่ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม คือ โพลีคลอรีเนเตตไบเฟนิล (polychlorinated biphenyl or PCB) หรือ พีซีบี สารชนิดนี้สลายตัวยาก สารชนิดนี้ใช้เป็นตัวระบายความร้อนของเครื่องจักร 
ใช้ในการทำหม้อแปลงไฟฟ้า ทำความสะอาดเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อพีซีบีผ่านลงแหล่งน้ำจะผ่านเข้าสู่
สิ่งมีชีวิตตามโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์กินปลาหรือสัตว์น้ำที่มีพีซีบีสะสมอยู่มาก จะทำให้เกิดความผิดปกติและตายเนื่องจากขบวนการทางสรีรวิทยาขัดข้องจากการสำรวจพีซีบี บริเวณขั้วโลกเหนือพบว่าแมวน้ำ นกเพนกวิน และสาหร่ายมีสารชนิดนี้อยู่ในเนื้อเยื่อค่อนข้างสูง

                
4. สารลอยผิวหน้าน้ำ สารแขวนลอยและตะกอน สารลอยผิวหน้าน้ำ คือน้ำมัน คราบน้ำมัน และสารอื่น ๆ ซึ่งบางชนิดติดไฟได้ จึงเกิดอันตรายกับสัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังกั้นไม่ให้แสงผ่านลงสู่น้ำและกั้นก๊าซออกซิเจนไม่ให้สามารถแพร่ลงสู่น้ำได้ ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นสารที่ลอยผิวหน้าน้ำ คือ ใบไม้ กิ่งไม้ แผ่นโฟม 
ถุงพลาสติก กระป๋อง สารแขวนลอยและตะกอนที่มักจะเป็นอนุภาคของดินขนาดต่าง ๆ ซึ่งทำให้น้ำขุ่นจะตกตะกอนจมลงสู่ก้นแหล่งน้ำ เมื่อมีน้ำหนักมากขึ้น

     5. สารกัมมันตภาพรังสี (radioactive substance) เช่น ยูเรเนียม สตรอนเตรียม ซีเซียม ไอโอดีน เป็นต้น สารกัมมันตภาพรังสีดังกล่าวจะผ่านลงสู่แหล่งน้ำได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

- จากกระบวนการผลิตแร่ยูเรเนียม

- จากการชำระล้างเครื่องนุ่งห่มของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการด้านกัมมันตภาพรังสี

- จากของเสียซึ่งมาจากห้องปฏิบัติการด้านกัมมันตภาพรังสี

- ของเสียจากโรงพยาบาล ที่มีการตรวจและรักษาโรคโดยสารกัมมันตภาพรังสี

- จากกระบวนการผลิตธาตุเชื้อเพลิงจากแร่ยูเรเนียม

- น้ำจากโรงไฟฟ้าปรมาณู

- จากฝุ่นกัมมันตภาพรังสีซึ่งเกิดจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์
สารกัมมันตภาพรังสีจากห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาลนั้นอยู่ในระดับต่ำ เมื่อผ่านลงสู่แหล่งน้ำจะมีการทับถมในก้นแหล่งน้ำ จึงก่อให้เกิดปัญหาด้านการขยายทางชีววิทยาต่ำกว่าโรงไฟฟ้าปรมาณู และจากฝุ่นกัมมันตภาพรังสีมาก ( Kupchella and Hyland , 1989 : 397) 

                 
6. ความร้อน (heat) เนื่องจากน้ำเป็นตัวนำความร้อนที่ดี จึงใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อนของเครื่องจักรในโรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานปฏิกรณ์ปรมาณู น้ำที่ใช้ระบายความร้อนนี้ เมื่อผ่านออกมาจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการระบายความร้อนก็จะมีอุณหภูมิสูงมากจึงกลายเป็นน้ำเสีย เมื่อถูกนำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จะทำให้น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นอันตรายต่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของสัตว์น้ำในบริเวณนั้น อาจทำให้สัตว์น้ำตายหมด บางส่วนต้องอพยพหนีไปหาที่อยู่ใหม่ บริเวณนี้อาจไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย

สารมลพิษทางน้ำที่กล่าวมาแล้ว 6 ประเภทนั้นอาจจัดเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ สารมลพิษทางเคมี สารมลพิษทางชีววิทยา และสารมลพิษทางกายภาพ ดังตาราง

ตาราง ตัวอย่างสารมลพิษทางน้ำ
สารมลพิษเคมี
สารมลพิษทางชีววิทยา
สารมลพิษทางกายภาพ
กรด
แบคทีเรีย
ความร้อน
เบส
ไวรัส
สี
เกลือ
เชื้อโรคต่าง ๆ
กลิ่น
ยาฆ่าแมลง
สาหร่าย
สารกัมมันตภาพรังสี
ผงซักฟอก
อุจจาระ ปัสสาวะ
สารแขวนลอย
ไอออนบวกของโลหะหนัก
ลิกนิน
กรวด ทราย


 แหล่งกำเนิดปัญหามลพิษทางน้ำ
แหล่งกำเนิดปัญหามลพิษทางน้ำได้แก่ แหล่งชุมชน แหล่งอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกรรม แหล่งกำจัดขยะมูลฝอย แหล่งคมนาคมทางเรือ และแหล่งกำเนิดอื่นๆ 

          1.
แหล่งชุมชน ได้แก่ บ้านเรือน อาคารพาณิชย์ โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน สำนักงาน น้ำทิ้งจากสถานที่ดังกล่าวจะมีสารมลพิษที่เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นเศษอาหาร ของเสีย และสารที่ใช้ซักฟอกปะปนมา

            2.
แหล่งอุตสาหกรรม เช่น โรงน้ำปลา โรงน้ำตาล โรงงานอาหารกระป๋อง โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตสี โรงงานฟอกหนัง และเหมืองแร่ แหล่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะปล่อยของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ลงสู่แหล่งน้ำ ก่อให้เกิด น้ำเน่า นอกจากนั้นยังอาจปล่อยโลหะเป็นพิษและสารประกอบที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมียม และไซยาไนด์ลงน้ำอีกด้วย

             3.
แหล่งเกษตรกรรม เนื่องจากเกษตรกรใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืชมากขึ้นเป็นลำดับ ปุ๋ย 
ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืชรวมทั้งมูลสัตว์ จะถูกชะไหลลงสู่แหล่งน้ำ จึงเกิดการสะสมสารดังกล่าวในแหล่งน้ำ มากขึ้น ในที่สุดจะเกิดยูโทรพิเคชันขึ้นและเกิดการสะสม สารพิษที่เป็นโลหะหนักในแหล่งน้ำ จึงเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ในน้ำ

             4.
น้ำเสียจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย น้ำเสียประเภทนี้เกิดจาการที่มีการนำขยะมูลฝอยไปกองทิ้งอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้เป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง เนื่องจากขยะมูลฝอยประกอบด้วยเศษอาหาร และของเน่าเสีย  เมื่อฝนตกชะลงมาทำให้น้ำเสียไหลปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำผิวดินและซึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินได้ด้วย

              5.
แหล่งคมนาคมทางเรือ เป็นแหล่งมลพิษทางน้ำที่สำคัญแหล่งหนึ่งแต่มักจะถูกมองข้ามไป สารมลพิษจากแหล่งนี้ คือ น้ำมันที่ใช้กับเครื่องจักรกลของเรือ จะเล็ดลอดลงในน้ำ เมื่อเรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่รั่ว หรือเกิดอุบัติเหตุจมลงน้ำมันจะกระจายเข้าไปอยู่ในแหล่งน้ำ เกิดคราบน้ำมันปกคลุมผิวหน้าน้ำเป็นบริเวณกว้างขวางมากคลื่นจะซัดคราบน้ำมันเข้าหาฝั่งทะเล ก่อความสกปรกและการขาดออกซิเจนในบริเวณนั้นได้นาน  จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตล้มตายลงมากมาย

              6.
น้ำเสียจากแหล่งอื่นๆ การเกิดน้ำเสียจากสาเหตุอื่นๆ จะเกิดจากสาเหตุดังนี้ น้ำเสียที่เกิดจากขบวนการคมนาคมขนส่ง การบริการ การก่อสร้างและการรื้อถอน การพาณิชย์ การล้างถนน อาคาร รถยนต์ และน้ำเสียจากกิจกรรมประมง เป็นต้น




อากาศเป็นพิษ

                                                          อากาศพิษ  
                                              
                นอกจากปัจจัยสี่ ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก็ต้องการอากาศดีๆ เพื่อใช้ในการหายใจเช่นกัน  แต่ในยุคปัจจุบันแล้ว อากาศที่เราหายใจมีสารปนเปื้อนอยู่มากมายทั้งฝุ่นละออง เชื้อโรคและก๊าซพิษ  ซึ่งก๊าซพิษเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงนั่นเอง ก๊าซเหล่านี้ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตะกั่ว เป็นต้น  นอกจากนี้การเผาไหม้เลื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ยังทำให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ชนิดระเหยได้ที่เป็นพิษต่อร่างกายเราเช่นกัน
                มลพิษในอากาศส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ใกล้พื้นโลกมากที่สุด นั่นคือชั้นโทรโปสเฟียร์ ซึ่งกินพื้นที่จากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 16 กิโลเมตร ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จะทำให้อากาศเกิดการแบ่งชั้นตามอุณหภูมิโดยอากาศที่เย็นกว่าจะถูกกักไว้ชั้นล่าง โดยอยู่ใกล้กับผิวโลก   ในขณะที่อากาศที่ร้อยกว่าอยู่ข้างบน  ในสภาพดังกล่าวนั้นมลพิษจะถูกกักเก็บไว้ที่อากาศชั้นล่างและจะไม่มีการผสมกันของอากาศตามธรรมชาติ
                Smog (มาจากภาษาอังกฤษคำว่า smoke + fogถือเป็นกลุ่มหมอกควันที่เป็นมลภาวะทางอากาศอย่างหนึ่ง ซึ่งมลพิษถูกกักเก็บไว้ในอากาศเนื่องจากปรากฎการณ์เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งมลพิษเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหิน น้ำมัน  นอกจากนี้ยังเกิดได้จากการทำปฎิกิริยาของแสงกับออกไซด์ของไนโตรเจนและสารประกอบอินทรีย์ชนิดระเหยได้    
                ที่จริงแล้ว smog  ประกอบด้วยโอโซน ซึ่งโอโซนในบรรยากาศชั้นล่าง (โทรโปสเฟียร์) ถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย  ทำให้เกิดความระคายเคืองที่ปอด ตลอดจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืชและสัตว์ 
หมายเหตุ  โอโซน ประกอบด้วยโมเลกุลของออกซิเจน 3 อะตอม (ซึ่งมากกว่าออกซิเจนทั่วไปที่มีแค่ 2 อะตอม)    
                ปริมาณโอโซน เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของมลภาวะได้  เนื่องจากปริมาณโอโซนในชั้นโทรโปสเฟียร์ที่มีมากขึ้น  หมายถึงปริมาณมลพิษอื่นๆในอากาศที่มากขึ้นด้วย เช่น ปริมาณของคาร์บอนมอนนอกไซด์  
                เมื่อความชื้นในอากาศรวมกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือออกไซด์ของไนโตรเจน จะเกิดเป็นกลุ่มหมอกควันที่มีสภาพเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อปอด และยังสามารถกัดกร่อนโลหะ ตลอดจนหินอ่อนได้อีกด้วย   ในผู้ป่วยหอบหืดและโรคหัวใจจะมีอาการแย่ขึ้นเมื่อสูดเอากลุ่มควันพวกนี้เข้าไป จะทำให้ปวดศีรษะ มึนงง หายใจลำบาก
                นอกจากอากาศเป็นพิษอย่างที่เราเข้าใจกันแล้ว ปัญหาใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่เราต้องรวมมือร่วมใจกันแก้ไขก็คือ การที่ชั้นบรรยากาศถูกทำลาย  จากที่กล่าวแล้วถึงในชั้นบรรยากาศที่ใกล้พื้นโลกมากที่สุด หรือโทรโปสเฟียร์  แล้วถัดจากบรรยากาศชั้นนี้ขึ้นไป(จากความสูงเหนือระดับพื้นโลก 16-50 กิโลเมตร นั้นเป็นชั้นบรรยากาศ สเตรโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นที่ประกอบด้วยโอโซนจำนวนมาก(โอโซนในชั้นนี้มีโมเลกุลเหมือนโอโซนในชั้นโทรโปสเฟียร์)  แต่โอโซนที่ชั้นบรรยากาศนี้ เปรียบเสมือนด่านปราการที่ปกป้องโลกจากรังสีUV-B จากดวงอาทิตย์  รังสีUV-Bนั้นสามารถทำลายรหัสพันธุกรรมหรือDNA ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็ง    ในปัจจุบันนี้ชั้นโอโซนดังกล่าวถูกทำลายไปจำนวนมากเนื่องจากสารเคมีบางอย่าง เช่น สารCFC , ไนตรัสออกไซด์(พบในพวกปุ๋ย)เมทิล โบรไมด์ (พบในยาฆ่าแมลง)    
                CFC หรือสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(เป็นสารหลักที่ทำลายโอโซน) ซึ่งเป็นก๊าซที่เกิดจากตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ กระป๋องสเปรย์    CFCเป็นก๊าซที่ไม่สลายตัวไปง่ายๆ สามารถลอยขึ้นไปถึงชั้นสเตรโตสเฟียร์   และที่นี่เมื่อสาร CFC รวมตัวกับรังสีUV   สารCFCจะแตกตัวได้เป็นคลอรีน  เมื่อคลอรีนรวมตัวกับโอโซนในชั้นบรรยากาศ จะเกิดเป็นออกซิเจน  (O2) ซึ่งไม่สามารถดูดซับรังสีUV-B ได้อย่างโอโซน
หมายเหตุ  คลอรีน 1 โมเลกุล สามารถทำลายโอโซนในชั้นสเตรโตสเฟียร์  ได้ถึง 100,000โมเลกุล   
ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) 
                ก๊าซที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เรือนกระจก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์(เกิดจากการเผาไหม้ถ่านและน้ำมัน)  มีเทน  ไนโตรเจนออกไซด์และCFC    ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะยอมให้แสงอาทิตย์ผ่านมายังพื้นโลกได้ แต่จะสะท้อนกลับความร้อนจากผิวโลกไม่ให้สามารถผ่านออกไปได้ ดังนั้นจึงทำให้อุณหภูมิที่ชั้นบรรยากาศและผิวโลกสูงขึ้น
                อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้อากาศแปรปรวน ทำให้เกิดน้ำท่วม  พายุกำลังแรง และภาวะแห้งแล้งที่ยาวนานขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลาย ประมาณการณ์ว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 9- 100 เซนติเมตรภายในปี 2100 และถ้าเป็นไปตามนั้น รัฐฟลอริดาจะอยู่ใต้น้ำในศตวรรษหน้า  และโรคมาลาเรียที่เคยแพร่ระบาดเฉพาะในเขตร้อนชื้น จะแพร่ไปยังทุกบริเวณทั่วโลก  พืชและสัตว์บางชนิดจะสูญพันธ์ เนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป
อันตรายจากก๊าซพิษต่างๆ
                คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี  หลังจากที่เราสูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไป  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะเข้าสู่กระแสเลือด และจะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย  ถ้าร่างกายได้รับเพียงเล็กน้อยจะทำให้มึนงง ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้
                แหล่งที่มาของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์คือพวกเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอน รวมถึงน้ำมันเบนซินน้ำมัน และไม้ ซึ่งก๊าซชนิดนี้เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือที่เกิดขึ้นจากสารสังเคราะห์ เช่น การสูบบุหรี่เป็นต้น
                คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นสาเหตุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์เรือนกระจก  แหล่งที่มาของก๊าซส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ อันได้แก่ การเผาไหม้ถ่าน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ  ถ้าเราสูดดมก๊าซชนิดนี้ในปริมาณมากจะทำให้เราหายใจถี่ขึ้น หมดสติ หรือถึงแก่ชีวิต
                คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC  เป็นสารเคมีที่ใช้วงการอุตสาหกรรม อาทิเช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ  เมื่อก๊าซชนิดนี้ถูกปล่อยขึ้นสู่อากาศจะขึ้นไปสู่ชั้นสเตรโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือจากโลกขึ้นไปอีก  ซึ่งในชั้นบรรยากาศชั้นนี้ สารCFCจะทำลายโอโซนที่เปรียบเสมือนป้อมปราการที่ปกป้องโลกจากรังสีอันตรายของดวงอาทิตย์(รังสี UV)    ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องช่วยกันลด ละ เลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดสารCFC ที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ
                ตะกั่ว เป็นโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากตะกั่วจะทำลายระบบประสาทและระบบย่อยอาหาร ตลอดจนเป็นสาเหตุของมะเร็ง   ซึ่งร่างกายของเราได้รับสารตะกั่วผ่านทางการหายใจและทางเดินอาหาร  แหล่งที่มาของสารตะกั่วได้แก่ สี โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานเซรามิก ท่อประปา
                โอโซน  เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอม (ในขณะที่ก๊าซออกซิเจนในอากาศ ปกติ ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม)  โอโซนในบรรยากาศชั้นสเตรโตสเฟียร์ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่เหนือจากโลกที่ระดับ 16-50 กิโลเมตรนั้นเป็นม่านกรองรังสีUVที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์  ในขณะที่โอโซนในชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ซึ่งอยู่ใกล้ผิวโลกมากที่สุดนั้นเป็นต่อทั้งมนุษย์ สัตว์และพืช  เนื่องโอโซนจะทำให้ทางเดินหายใจระคายเคือง  ไอต่อเนื่อง  ทำให้ปวดหน้าอก  ไม่สามารถที่จะหายใจลึกๆยาวๆได้  ทำให้ปอดติดเชื้อได้ง่าย
                โอโซนในชั้นบรรยากาศที่อยู่ใกล้ผิวโลกนั้นเกิดจากการแตกตัวของสารประกอบอินทรีย์ซึ่งสามารถระเหยได้  รวมถึงเป็นผลพลอยได้จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสารเคมีในการเผาไหม้ถ่าน น้ำมันเบนซิน เชื้อเพลิงต่างๆ  รวมถึงยานพาหนะและโรงงาน
                ไนโตรเจนออกไซด์  เป็นก๊าซพิษที่พบในกลุ่มหมอกsmog  และฝนกรด  ถ้าได้รับไนโตรเจนออกไซด์ปริมาณมาก จะทำให้หายใจลำบาก ไอและเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจ  สำหรับฝนกรดนั้นเป็นอันตรายต่อพืช ผัก    ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง รวมถึงน้ำมันเบนซินและถ่านหิน
                ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่นในกรณีที่ความเข้มข้นต่ำ ในขณะที่ความเข้มข้นสูงจะมีกลิ่นรุนแรง   ก๊าซชนิดนี้เกิดจากกการเผาไหม้ถ่านหิน รวมถึงเป็นของเสียที่เกิดในโรงงานผลิตกระดาษ โรงหลอมโลหะ  ก๊าซชนิดนี้พบได้ในกลุ่มหมอกและฝนกรด  เนื่องจากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำให้เกิดกรดซัลฟิวริกซึ่งเป็นกรดรุนแรง สามารถกัดกร่อนพืชและโลหะ ตลอดจนเป็นอันตรายต่อปอดและทางเดินหายใจ
                สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้  สารเหล่านี้ประกอบอินทรีย์ ซึ่งมีคาร์บอน ตลอดจนสารอินทรีย์อื่นๆที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต  ทั้งนี้สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้หลายชนิดไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากขบวนการสังเคราะห์ในห้องทดลอง   สารเหล่านี้จะระเหยเป็นไอได้ง่ายแม้ที่อุณหภูมิห้อง
                ตัวอย่างของสารประกอบอินทรีย์ระเหยได้ ได้แก่น้ำมันเบนซิน เทอลูอีน ไซลีน เปอร์คลอโรเอทธีลีน(สารละลายที่ใช้ซักแห้ง)  สารเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง น้ำมัน ไม้ ถ่าน ก๊าซธรรมชาติและพบได้ในสารทำลายของสี กาวและของใช้ในบ้านต่างๆ  ตลอดจนการเผาไหม้ของยานพาหนะ  ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อชีวิต และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง
เราจะช่วยลดมลพิษในอากาศได้อย่างไร
                วิธีการลดมลพิษในอากาศนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน และเนื่องจากยานพาหนะที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันนั้นเป็นแหล่งของก๊าซหลายชนิดด้วยกัน ทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ โอโซน สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้ CFC ผงฝุ่น   ดังนั้นจึงนับเป็นเรื่องใกล้ตัวเราอย่างมาก
                วิธีที่ดีที่สุดในการลดมลพิษทางอากาศ คือ พยายามใช้รถให้น้อยที่สุด เปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนตัว   เลือกที่เดินหรือปั่นจักรยานแทนการใช้รถ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัด ไม่ทำให้เกิดมลพิษแล้ว ยังทำให้คุณมีสุขภาพแข็งแรง
                ในกรณีที่ต้องใช้รถ เราก็มีวิธีช่วยลดมลพิษ ดังนี้
        ๏หลีกเลี่ยงการขับด้วยความเร็วสูง
        ๏เลือกใช้พาหนะที่ประหยัดน้ำมัน
        ๏อย่าเติมน้ำมันจนล้นถังบรรจุเชื้อเพลิง
        ๏เลือกใช้รถใหม่แทนการใช้รถเก่า เนื่องจากรถรุ่นใหม่ทำให้เกิดมลพิษน้อยกว่ารถรุ่นเก่า
        ๏หมั่นดูแล ตรวจสอบรถให้อยู่ในสภาพดีเสมอ
       ๏ เช็คลมยางให้พอเหมาะ
        ๏ดูแล เช็คระบบเครื่องปรับอากาศภายในระวัง อย่าให้มีรอยรั้ว
        ๏วางแผนการใช้เส้นทาง ก่อนการออกเดินทางทุกครั้ง
นอกจากเรื่องของรถ เราสามารถลดมลพิษทางอากาศด้วยวิธีอื่นได้อีก
α ปลูกพืชด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ หรือใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงให้น้อยที่สุด
α หลีกเลี่ยงการซักแห้ง
α  ลดการใช้กระแสไฟฟ้า เท่ากับเป็นการลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้
            นอกจากก๊าซพิษแล้ว  ในอากาศยังมีเศษผง ฝุ่นละอองมากมาย  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะฝุ่นละอองเหล่านี้ จะรบกวนการทำงานของทางเดินหายใจ  ทำให้ไอ ทำให้ปอดอักเสบ  หายใจลำบากซึ่งในภาวะดังกล่าวเหล่านี้จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวในร่างกายที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นตามกลไกการตอบสนองของร่างกาย เพราะเม็ดเลือดขาวนั้นเปรียบเสมือนทหารที่เคยทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้ามา
                  

ประเภทของถังขยะ

ประเภทของถังขยะ


เพื่อให้การจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและลดการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมา ใช้ประโยชน์ใหม่จะต้องมีการตั้งจุดรวบรวมขยะมูลฝอย (Station) และให้มีการแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ โดยมีถุงบรรจุภายในถังเพื่อสะดวกและไม่ตกหล่น หรือแพร่กระจาย ดังนี้

สีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
สีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
สีเทาฝาสีส้ม รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ
สีฟ้า รองรับขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร
นอกจากนี้ยังมีถุงพลาสติกสำหรับรองรับขยะมูลฝอยในแต่ละถัง โดยมัดปากถุงสีเดียวกับถังที่รองรับมูลฝอยตามประเภทดังกล่าวข้างต้น
ในกรณีที่สถานที่มีพื้นที่จำกัดในการจัดวางภาชนะรองรับขยะมูลฝอยและมีจำนวนคนที่ค่อนข้างมากในบริเวณพื้นที่นั้น เช่น ศูนย์การประชุมสนามบิน ควรมีถังที่สามารถรองรับขยะมูลฝอยได้ทั้ง 4 ประเภทในถังเดียวกัน โดยแบ่งพื้นที่ของถังขยะมูลฝอยออกเป็น 4 ช่อง และตัวถังรองรับขยะมูลฝอยทำด้วยสแตนเลส มีฝาผิดแยกเป็น 4 สี ในแต่ละช่องตามประเภทของขยะมูลฝอยที่รองรับ ดังนี้
ฝาสีเขียว รองรับขยะมูลฝอยที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว
ฝาสีเหลือง รองรับขยะมูลฝอยที่สามารถนำรีไซเคิล หรือขายได้
ฝาสีแดงรองรับขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ฝาสีฟ้ารองรับขยะมูลฝอย ที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิลและมีสัญลักษณ์ข้างถัง
2) ถุงขยะ
สำหรับคัดแยกขยะมูลฝอยฝนครัวเรือนและจะต้องมีการคัดแยกรวบรวมใส่ถุงขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ถุงสีเขียว รวบรวมขยะมูลฝอยที่เน่าเสีย และย่อยสลายได้เร็วสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
ถุงสีเหลือง รวบรวมขยะมูลฝอยที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อลูมิเนียม
ถุงสีแดง รวบรวมขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องสารฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ
ถุงสีฟ้า รวบรวมขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Bonjour..


Je m'appelle duangrat  PUTTIPASATH.   J'ai 17 ans.  



Je vien de Prachuap Khiri Khan Je suis élève à l'ecole de wangklaikancvol.

J'aime la music et le français.   Je n'aime pas les maths. Je voudrais êtes mannequin.



 Il y a 7 Continents dans le monde

 

   

 - En Amérique du nord


  - En Amérique du sud


  - En Europe


  - En Asie


  - En Afrique


  - En Océanie


  - En Antartique




                      Il y a 27 pays dans l'Union Européenne






-La France
-L'Allemagne
-La Belgique
-L'Espagne 
-La Gréce
-La Hongruie
-L'Italie

-La Lituanie
-Malte
-La Hollande (Les pays-Bas)
-La Pologne
-Le Portugai
-L'Angletesse (Le Royaunme-Uni)
-La Slovaquie
-La Suède

-La Finlande
-L'Estonie
-La Lettonie
-Le Danemark
-L'Irlande
-La Répubique Tchèque
-La Slovénie
-L'Autruche
-Chypre

-La Roumanie
-La Bulgarie

-La Luxembourg



                           Il y a 10 pay dans l'Asean


1.La Thaïlande




2.La Bismanie (Le myanmas)





3.Le Laos 




4.Le Viêtnam





5.La Malaisie



6.Singapous




7.BRUNEI




8.L'Indonésie



9.Les Philippines



10.La Cambodge





On parle 6 langues à l'ONU


    - l'anglais


    - le français


    - l'espagnol


    - l' arabe


    - le russe


    - lechinois



******************************************


Salut Luisa,
         Je m'appelle Duangrat PUTTIPASATH .  J'ai  17 ans.

                       Je vien de Prachuap khiri khan. Je suis  élève à l'ecole de wangklaikancvol. 
                      
                       J'aime la music et le  français. Je n'aime pas les maths.

              A+
         Zom